1. ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

DCIM100MEDIADJI_0052.JPG

        ปี พ.ศ ๒๕๑๗ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เดิมเรียกว่า ฝ่ายหอสมุด มีอาคารหอสมุดเป็นอาคาร ๒ ชั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถาบัน โดยย้ายจากห้องฝ่ายทะเบียนและวัดผล (๑๑๒๐-๒) เมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๑๗

        ปี พ.ศ ๒๕๑๙ ต่อมาเรียกว่า อาคาร ๑๓ การดำเนินงาน ณ อาคาร ๑๓ ได้ดำเนินการให้บริการมาเกือบจะพร้อม ๆ กับการจัดตั้งวิทยาลัย โดยอาจารย์บรรณารักษ์ ซึ่งมีการย้ายและไปช่วยราชการที่อื่นบ้าง กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๖ หอสมุดจึงได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป จรัสรุ่งรวีวร มาเป็นอาจารย์ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ หอสมุดได้อาจารย์เพิ่มอีก ๑ ท่าน คือ อาจารย์นิรมล อัจฉริยะเสถียร ในเวลาต่อมาก็ได้ อาจารย์แจ่มใส เหล่าศิริ มาช่วยอีก ๑ ท่าน

        ปี พ.ศ ๒๕๓๖ ได้รับโอนผู้ช่วยศาสตราจารย์ประคอง บุญทน มาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช และหอสมุด ได้เจ้าหน้าที่ ๑ ท่าน เป็นข้าราชการพลเรือนมาประจำในปี ๒๕๓๖ คือ นางศศิธร หวังค้ำกลาง

        ปี พ.ศ ๒๕๓๗ รับย้าย รองศาสตราจารย์ ดร.มาลี ไชยเสนา จากสถาบันราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี รวมเป็นอาจารย์บรรณารักษ์ ๕ ท่าน

        ปี พ.ศ ๒๕๔๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.อ.วราวุธ ผลานันต์ จากสถาบันราชภัฏสุรินทร์มาช่วยราชการในสำนักวิทยบริการ และอาจารย์สัณชัย ยงกุลวณิชได้เข้ามาช่วยดูแลด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักวิทยบริการ

        ปี พ.ศ ๒๕๔๓ สำนักวิทยบริการได้อาคารใหม่เพิ่มเขึ้นอีก ๑ หลัง (อาคาร ๑๔) เป็นอาคาร ๖ ชั้น โดยสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ประทานนามอาคารใหม่ ว่า “บรรณราชนครินทร์” ในวันจันทร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๕ จึงแยกงานบริการประเภทสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุไปจัดไว้ในอาคาร ๑๔ ส่วนอาคาร ๑๓จัดเป็นพื้นที่บริการอินเทอร์เน็ตและซีดี-รอม

        ปี พ.ศ ๒๕๔๘ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุระเจตน์ อ่อนฤทธิ์ และอาจารย์ศศิธร หวังค้ำกลาง ได้มาปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

        ปี พ.ศ ๒๕๕๑ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เผ่าไทย วงษ์เหลา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุระเจตน์ อ่อนฤทธิ์ ได้มาปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการฯ

        ปี พ.ศ ๒๕๕๒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศักดา บุญยืด และอาจารย์อุดมเดช ทาระหอม ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการฯ โดยมีนายวัชรพงษ์ เวชพันธ์ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ

ผลงานที่น่าภูมิใจ

        สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีความพร้อมที่จะให้บริการและดำเนินงานให้บริการแก่นักศึกษาและคณาจารย์อย่างมีระบบและประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ดังนี้
        ๑. เพื่อให้บริการทางวิชาการสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า และการวิจัยของนักศึกษาปริญญาตรี ปริญญาโท อาจารย์และหน้าที่ของสถาบันตามหลักสูตรและโครงการซึ่งเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย
        ๒. เพื่อจัดเตรียมคัดเลือกจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศด้านวิชาการของนักศึกษาและอาจารย์
        เพื่อร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการเพิ่มพูนคุณภาพด้านบริการทางวิชาการ
        เพื่อสนับสนุนการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินการ บริการการศึกษาค้นคว้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สถาบันได้แต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป จรัสรุ่งระวีวร รักษาผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการเมื่อ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๑ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.มาลี ไชยเสนา เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖–๒๕๔๗ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมหวัง ชาญศิริวัฒน์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๖ รองศาสตราจารย์ ดร.มาลี ไชยเสนา ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๖-ถึงปัจจุบัน ผู้ช่วยศาตราจารย์ศักดา บุญยืด ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
        สำนักวิทยบริการได้เปลี่ยนแปลงสถานะและเรียกชื่อเป็นสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ และด้วยกฏกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๒๐ก หน้าที่ ๘๒–๘๓ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๔๘
        สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดำเนินงานตามหลักปรัชญาการดำเนินงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา โดยเน้นการดำเนินงานให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สำนักวิทยบริการฯ ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ดังนี้
        ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ สำนักวิทยบริการฯ ได้รับเกียรติบัตรดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ สำนักนโยบายและพัฒนาสถาบัน สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏให้เป็นสำนักวิทยบริการดีเด่น ในฐานะที่ได้ดำเนินการตามแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาของห้องสมุด เป็นหัวใจและเป็นเสาหลักของสถาบันที่สนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย และเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและวิสัยทัศน์กว้างไกลในการจัดสถานที่และบริการดีเยี่ยม สามารถกระตุ้นให้ประชาคมมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก
        ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ สำนักวิทยบริการฯ ได้รับการประเมินผลจากคณะกรรมการพัฒนาสำนักวิทยบริการฯ สถาบันราชภัฏ ให้เป็นสำนักวิทยบริการฯ ที่มีการพัฒนาโครงการดีเด่นในโครงการเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย ราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
        ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ สำนักวิทยบริการฯ ได้รับรางวัลชมเชยประเภทการเข้าถึงผู้ใช้บริการระดับหอสมุดกลาง ในการประกวด “ห้องสมุดในฝัน” ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
        ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สำนักวิทยบริการฯ ได้รับรางวัล “Top 20 Best Activity” จากสถาบันพัฒนาความรู้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
        ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สำนักวิทยบริการฯ ได้รับรางวัล “ 20 Best@ Set Conner Investment Hun 2008” จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย